บริษัท อินทนา วิศวกรรม จำกัด INTHANA ENGINEERING CO.,LTD. เลขทะเบียน 0105554077861

< /div>
บริษัท อินทนา วิศวกรรม จำกัด INTHANA ENGINEERING CO.,LTD. เลขทะเบียน 0105554077861 ดูพื้นที่การก่อสร้าง โครงการรถไฟรางคู่ จ.เชียงราย
Design of power system (การออกแบบระบบไฟฟ้ากำลัง) Facebook8Tweet0 พลังงานไฟฟ้าภายในโรงงานหรืออาคารจะต้องผ่านอุปกรณ์รับและแปลงไฟฟ้า สายเมนไฟฟ้า ไปที่อุปกรณ์ควบคุมไฟสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าและแสงสว่าง แล้วจ่ายให้ภาระที่ต้องการพลังงานไฟฟ้า เช่น มอเตอร์ อุปกรณ์ส่องสว่าง เป็นต้น Power system รูป การไหลของพลังงานไฟฟ้าในอาคาร จากรูปด้านบน สิ่งที่สิ้นเปลืองพลังงานมากที่สุด ได้แก่ ภาระพวกมอเตอร์และอุปกรณ์แสงสว่าง อย่างไรก็ตาม ในเส้นทางจ่ายพลังงานไฟฟ้าไปยังภาระ กล่าวคือ ในหม้อแปลง สายเมนไฟฟ้า ก็ยังมีความสิ้นเปลืองพลังงานในรูปความสูญเสียอีกด้วย การอนุรักษ์พลังงานของระบบไฟฟ้า (power system) จะขึ้นอยู่กับการออกแบบ การจัดการการใช้งานก็มีบทบาทที่สำคัญเช่นกัน การจัดการพลังงานของระบบไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิผลจะต้องเข้าใจหลักการ ของการอนุรักษ์พลังงานตามเจตนารมณ์ของผู้ออกแบบ แล้วนำมาปฏิบัติในการจัดการการใช้งาน วิธีลดกำลังสูญเสียในสายไฟทำได้ดังต่อไปนี้ ในการออกแบบต้องเลือกใช้แรงดันที่เหมาะสม (ลดกระแสในสาย) เลือกขนาดของสายไฟที่เหมาะสม (ลดความต้านทาน) และเลือกวงจรจ่ายโหลดที่ทำให้แหล่งจ่ายไฟอยู่ที่ศูนย์กลางของโหลด (ลดระยะทาง) นอกจากนี้ ในการเดินเครื่องต้องพยายามเลือกวงจรที่ทำให้กระแสของโหลดสมดุลที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้รวมทั้งการเดินเครื่องให้เหมาะสมสภาพโหลด เช่น การปลดหม้อแปลงบางลูกในแบงค์เพื่อลดกำลังสูญเสียจากการเหนี่ยวนำแม่เหล็ก หรือการย้ายโหลด เป็นต้น ต่อไปนี้จะอธิบายวิธีลดกำลังสูญเสียในอุปกรณ์แต่ละประเภท การออกแบบทางไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การออกแบบระบบจ่ายไฟฟ้า (Design of power system) ควรจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ I) การจัดโหลดของหม้อแปลงไฟฟ้าให้สมดุลกันทุกเฟส โหลดในระบบไฟฟ้า 3 เฟสมีทั้งที่เป็นโหลดสมดุลกับโหลดไม่สมดุล กล่าวคือ โหลดไม่สมดุล หมายความว่า อิมพีแดนซ์ที่นำมาต่อในแต่ละเฟสมีค่าไม่เท่ากัน ทำให้กระแสรวมของโหลดทางเวกเตอร์มีผลลัพธ์ไม่เป็นศูนย์ ถ้าโหลดนั้นต่อแบบสตาร์จะมีกระแสไหลในสายนิวทรัลด้วยจะทำให้ ขดลวดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า หรือหม้อแปลงไฟฟ้าชำรุดเสียหายได้โดยเฉพาะในระบบที่โหลดต่อแบบเดลต้าจะทำให้มีกระแสไหลวนในวงรอบในลักษณะที่เป็นภาระพึ่งพิงต่อกันระหว่างเฟส ในทางปฏิบัติการที่จะทำให้โหลดสมดุลนั้นเป็นไปได้ยากมากหรือแทบเป็นไปไม่ได้เลยเพียงแต่ว่าทำอย่างไรจึงจะออกแบบและควบคุมระบบไฟฟ้ามิให้เกิดปรากฏการณ์โหลดไม่สมดุล ออกแบบและควบคุมระบบไฟฟ้ามิให้เกิดปรากฏการณ์โหลดไม่สมดุล พิจารณาโหลดที่ใช้ไฟฟ้า 1 เฟส เป็นพิเศษ เช่น การทำงาน ขนาด และความสำคัญ ควรมีเครื่องมือตรวจวัดกระแสและแรงดันไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอ ควรมีการบันทึกการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า นำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางในการจัดโหลดให้สมดุลกันทุกเฟส Design of power system (การออกแบบระบบไฟฟ้ากำลัง) บริษัท อินทนา วิศวกรรม จำกัด เลือกประเภท ชุดข้อมูล ธุรกิจมาแรง บริษัท อินทนา วิศวกรรม จำกัด INTHANA ENGINEERING CO.,LTD. เลขทะเบียน 0105554077861 ประกอบธุรกิจ งานวิศวกรรมและการให้คำปรึกษาทางด้านเทคนิค ที่เกี่ยวข้อง หมวดธุรกิจ : กิจกรรมงานวิศวกรรมและการให้คำปรึกษาทางด้านเทคนิค ที่เกี่ยวข้อง สถานะ ยังดำเนินกิจการอยู่ วันที่จดทะเบียน 15 มิถุนายน 2554 ทุนจดทะเบียน 3,000,000 บาท ที่ตั้ง ดูแผนที่ 114/63 หมู่ที่ 2 ตำบลแพรกษาใหม่ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จ.สมุทรปราการ 10280 บริษัท อินทนา วิศวกรรม จำกัด INTHANA ENGINEERING CO.,LTD. เลขทะเบียน 0105554077861
เลาะไซต์ก่อสร้าง “รถไฟทางคู่” ดีเลย์ยกแผง ผู้รับเหมาขยายสูงสุด 20 เดือน “ไฮสปีดไทย-จีน” อืด! ส่อหลุดเป้าเปิดหวูด รีวิวไซต์ก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง วงเงิน 88,014 ล้านบาท สารพัดปัญหารุม ทั้งปรับแบบเหตุสุดวิสัยทำให้ส่งมอบพื้นที่ล่าช้า เซ็นสัญญาเริ่มงานตั้งแต่ปี 2561 การก่อสร้างหลุดเป้า ผู้รับเหมาดาหน้าขอต่อขยายเวลา 9 เดือน-20 เดือน เลื่อนปิดจ็อบงานไปเป็นปี 2565 ขณะที่รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท ที่เริ่มลงมือมาตั้งแต่ 21 ธ.ค. 2560 มีงานโยธาก่อสร้าง 14 สัญญาล่าช้าไม่น้อยหน้ากัน มีปัญหาติดหล่มร้องเรียนประมูล ปรับแบบสถานีอยุธยากรณีกระทบมรดกโลกค่าเวนคืนที่ดินเพิ่ม ทำให้ยังเหลืออีก 6 สัญญาจากทั้งหมด 14 สัญญาที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง อาจทำให้ต้องขยับเปิดบริการจากเป้าปี 2570 ออกไปอีก รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่จำนวน 5 เส้นทาง ระยะทางรวม 700 กม. ค่าก่อสร้างงานโยธา 76,591 ล้านบาท ค่างานติดตั้งระบบอาณัติสัญญา 3 เส้นทาง วงเงิน 11,423 ล้านบาท วงเงินรวม 88,014 ล้านบาท มีแววจะต้องขยับแผนเลื่อนเปิดหวูดเต็มรูปแบบในปี 2566 ออกไปหลังจากการก่อสร้างงานโยธา 5 เส้นทาง จำนวน 10 สัญญามีอุปสรรคในการก่อสร้างทุกเส้นทาง @ปัญหาเพียบ ผู้รับเหมาขอขยายเวลาก่อสร้าง 9 สัญญา สถานการณ์ก่อสร้าง 5 โครงการนั้นจะมี 10 สัญญา ประกอบด้วย สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม. แบ่งงานเป็น 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 บ้านกลับ-โคกกระเทียม ระยะทาง 32 กม. ค่าก่อสร้าง 10,050 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า ยูเอ็น-เอสเอช (ยูนิค/ชิโน-ไฮโดร) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 15 มิ.ย. 2561-14 มิ.ย. 2565 (48 เดือน) ณ เดือน พ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 63.44% เร็วกว่าแผน 4.45% สัญญาที่ 2 ท่าแค-ปากน้ำโพ ระยะทาง 116 กม. ค่าก่อสร้าง 8,649 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561-31 ม.ค. 2564 (36 เดือน) มีการขยายสัญญาอีก 17 เดือน (ก.พ. 2564-ก.ค. 2565) ณ เดือน พ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 70.33% ช้ากว่าแผน 13.73% สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. แบ่งงานเป็น 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 มาบกะเบา-คลองขนานจิตร ระยะทาง 58 กม. ค่าก่อสร้าง 7,560 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561-31 ม.ค. 2565 (48 เดือน) มีการขยายสัญญาอีก 309 วันจากเดิม ไปสิ้นสุดวันที่ 5 ธ.ค. 2565 ผลงาน ณ เดือน พ.ย. 2564 คืบหน้า 92.29% ช้ากว่าแผน 7.39% เนื่องจากติดปัญหาพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในเขตป่าไม้ สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ ระยะทาง 8 กิโลเมตร มีจำนวน 3 อุโมงค์ โดยอุโมงค์ที่ 1 ระยะทาง 5.85 กม. อุโมงค์ที่ 2 ระยะทาง 0.65 กม. อุโมงค์ที่ 3 ระยะทาง 1.40 กม. ค่าก่อสร้าง 9,290 ล้านบาท มี กิจการรวมค้า อิตาเลียนไทย ไรท์ทีนเนลลิ่ง (ITD-RT) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงานวันที่ 1 ก.ค. 2561-30 ธ.ค. 2564 (42 เดือน) มีการขยายสัญญา 271 วัน ไปสิ้นสุดเดือน ก.ย. 2565 ผลงาน ณ เดือน พ.ย. 2564 คืบหน้า 89.139% เร็วกว่าแผน 0.13% มีปัญหางบประมาณเวนคืนไม่เพียงพอ ส่วนสัญญาที่ 2 คลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 69 กม. ค่าก่อสร้าง 7,060.58 ล้านบาท ออกแบบเสร็จแล้ว อยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติโครงการและพิจารณา EIA โดยกำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 42 เดือน ซึ่งงานก่อสร้างช่วงนี้ติดปัญหากรณีการรื้อสะพานข้ามแยกสีมาธานี และก่อสร้างอุโมงค์ทดแทน ที่ต้องใช้เวลาในการหาข้อยุติร่วมกับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่ สายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม. แบ่งสร้าง 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 นครปฐม-หนองปลาไหล ระยะทาง 93 กม. ค่าก่อสร้าง 8,198 ล้านบาท มี บจก.เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561-31 ม.ค. 2564 (36 เดือน) ขยายสัญญา 20 เดือน (ก.พ. 2564-ก.ย. 2565) ณ เดือน พ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 95.01% เร็วกว่าแผน 2.13% สัญญาที่ 2 หนองปลาไหล-หัวหิน ระยะทาง 76 กม. ค่าก่อสร้าง 7,520 ล้านบาท มี บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ก่อสร้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561-31 ม.ค. 2564 (36 เดือน) ขยายสัญญา 20 เดือน (ก.พ. 2564-ก.ย. 2565) ณ เดือน พ.ย.2564 งานคืบหน้า 90.763% เร็วกว่าแผน 0.012% สายใต้ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. ค่าก่อสร้าง 5,807 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561-31 ก.ค. 2563 (30 เดือน) ขยายสัญญา 11 เดือน (1 ส.ค. 2563-30 มิ.ย. 2564) และขยายสัญญาครั้งที่ 2 อีก 4 เดือน ไปสิ้นสุดเดือน ต.ค. 2564 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบงาน ซึ่งพบว่าการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ณ เดือน พ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 99.94% ยังล่าช้า 0.06% สายใต้ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. แบ่งงานเป็น 2 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 ประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย ระยะทาง 88 กม. ค่าก่อสร้าง 6,465 ล้านบาท มีกิจการร่วมค่า KS-C (เคเอสร่วมค้า /China Railway 11th) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561-31 ต.ค.2563 (33 เดือน) ขยายสัญญา 15 เดือน (1 พ.ย. 2563-31 ม.ค. 2565) ณ เดือน พ.ย. 2564 งานคืบหน้า 83.205% ช้ากว่าแผน 4.690% สัญญาที่ 2 บางสะพานน้อย-ชุมพร ระยะทาง 79 กม. ค่าก่อสร้าง 5,992 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า STTP (ชิโน-ไทย/ไทยพีค่อน) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561-31 ม.ค. 2564 (36 เดือน) ขยายสัญญา 15 เดือน (1 ก.พ. 2564-30 เม.ย. 2565) ณ เดือน พ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 82.88% ช้ากว่าแผน 10.825% @งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ สายอีสานเสร็จช้าสุด ต.ค. 66 สำหรับโครงการจัดหาและติดตั้งงานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมรถไฟทางคู่ 3 สาย ได้แก่สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม. ค่าก่อสร้าง 2,988.57 ล้านบาท มีกลุ่มร่วมค้าบีที-ยูเอ็น ประกอบด้วย บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกเนล (ประเทศไทย) จำกัด และ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ดำเนินการ ระยะเวลา 39 เดือน เริ่มงานวันที่ 24 ม.ค. 2563 กำหนดแล้วเสร็จเดือน เม.ย. 2566 สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. ค่าก่อสร้าง 2,549.89 ล้านบาท มีกลุ่ม บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และบริษัท LS Industrial Systems หรือ LSIS ประเทศเกาหลีใต้ เป็นผู้ดำเนินการ ระยะเวลา 45 เดือน เริ่มวันที่ 24 ม.ค. 2563 กำหนดเสร็จเดือน ต.ค. 2566 สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 420 กม. ค่าก่อสร้าง 7,384.84 ล้านบาท มี บจ.China Railway Signal & Communication หรือ CRSC จากประเทศจีนเป็นผู้ดำเนินการ ระยะเวลา 36 เดือน เริ่มงานวันที่ 27 ม.ค. 2563 กำหนดเสร็จเดือน ม.ค. 2566 @ รถไฟไทย-จีน ก่อสร้างสะดุด ยังเหลืออีก 6 สัญญายังไม่ได้เริ่มตอกเข็ม สำหรับบิ๊กโปรเจกต์อย่างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท มีงานโยธาจำนวน 14 สัญญา ค่าก่อสร้าง 117,914.08 ล้านบาท โดยมีสัญญาเดียวที่ก่อสร้างเสร็จคือ สัญญา 1-1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 362 ล้านบาท อีก 7 สัญญาอยู่ระหว่างก่อสร้าง ได้แก่ สัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 3,114 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลคอนสตรัคชั่น เซอร์วิสเซส แอนด์ โปรดักส์ เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 พ.ค. 2562 ก่อสร้าง 540 วัน (สิ้นสุด 21 ต.ค. 2563) ขยายสัญญาถึง 26 พ.ค. 2564 ล่าสุดงานคืบหน้า 76.85% ช้ากว่าแผน 23.15% อุปสรรคขาดแคลนแรงงาน และโควิด-19 อยู่ระหว่างขอต่อสัญญา สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279 ล้านบาท มี บมจ.เนาวรัตน์ พัฒนาการผู้รับจ้าง เริ่มงาน 19 เม.ย. 2564 สิ้นสุด 3 เม.ย. 2567 คืบหน้า 0.17% ล่าช้า 4.18% อุปสรรคเวนคืนที่ดิน และการขอใช้พื้นที่กรมป่าไม้ สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 21.60 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท มี บจ.ไทย เอ็นจิเนียร์และอุตสาหกรรมเป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 19 ก.พ. 2564 สิ้นสุด 4 ก.พ. 2567 คืบหน้า 1.06% ล่าช้า 7.72% อุปสรรคเวนคืนที่ดิน และการขอใช้พื้นที่กรมป่าไม้ กรมชลประทาน และกรมธนารักษ์ สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาทมี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ก่อสร้าง เริ่มงาน 26 ม.ค. 2564 สิ้นสุด 31 ม.ค. 2567 คืบหน้า 10.57% เร็วกว่าแผน 3.10% สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า SPTK จำกัด ก่อสร้าง เริ่มงาน 26 ม.ค. 2564 สิ้นสุด 31 ม.ค. 2567 คืบหน้า 1.823% ล่าช้า 5.74% อุปสรรคเวนคืนที่ดิน สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 11,525 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า CAN (บจ.ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่นฯ, บจ.เอ.เอส.แอส โซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) และ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้ก่อสร้าง สิ้นสุดสัญญาวันที่ 16 ส.ค. 2567 งานคืบหน้า 0.26% ล่าช้า 1.98% สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลเอ็นจีเนียริงก่อสร้าง เริ่มงาน 19 ก.พ. 2564 สิ้นสุด 4 ก.พ. 2567 คืบหน้า 7.06% ล่าช้า 0.71% รอเข้าพื้นที่ 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. วงเงิน 10,570 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด, สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,573 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย เป็นผู้รับจ้าง, สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทางรวม 31.60 กม. วงเงิน 9,428.9 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้รับจ้าง ติดปัญหาปรับแบบสถานีอยุธยา สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. มี บมจ.อิตาเลียนไทยเป็นผู้รับจ้าง และติดฟ้องคัดค้านผลประมูลสัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. ราคากลาง 11,386 ล้านบาท และสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. มีประเด็นโครงสร้างทับซ้อนกับไฮสปีด 3 สนามบิน @ออกแบบ “ระบบและขบวนรถ” ยังไม่นิ่ง คาดเสร็จปี 65 ส่วนสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท รฟท.เซ็นสัญญากับ บจ.ไชน่า เรลเวย์อินเตอร์เนชั่นแนล และบจ.ไชน่าเรลเวย์ ดีไซน์คอร์เปอเรชั่นเมื่อ 28 ต.ค. 2563 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนส่วนที่ 1 คือออกแบบระบบทั้งหมดและขบวนรถไฟ วงเงินประมาณ 700-800 ล้านบาท ซึ่งยังไม่ลงตัว ยังเหลือส่วนที่ 2 งานติดตั้ง วงเงิน 40,000 ล้านบาท จะเริ่มได้หลังออกแบบเสร็จ และงานโยธามีความคืบหน้าพอที่จะสามารถส่งมอบพื้นที่ คาดว่าจะออก NTP ให้ในปี 2565 และยังมีงานส่วนที่ 3 งานฝึกอบรมประมาณ 1,000 ล้านบาท มีการจัดตั้งองค์กร บริหารรถไฟความเร็วสูง คาดออก NTP หลังจากนี้ 1-2 ปี ส่วนรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356.10 กม. มีจำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) 2 แห่ง ที่นาทา และเชียงรากน้อย มีศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Maintenance Base) 4 แห่ง ที่บ้านมะค่า หนองเม็ก โนนสะอาด และนาทา มีย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) 1 แห่งที่นาทา ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการศึกษาและออกแบบรายละเอียดเพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้เตรียมจัดประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 29 เพื่อหารือร่วมกับฝ่ายจีนในการดำเนินงานในระยะต่อไป ขณะที่ฝั่ง สปป.ลาวที่เปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม สปป.ลาว-จีน ในวันที่ 2 ธันวาคม 2564 ซึ่งฝั่งไทยยังเชื่อมต่อไม่ได้ จึงทำได้แค่เพียง รฟท.ใช้ปรับแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง รองรับปริมาณสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นทางราง โดยในปี 2564-2565 มีการเพิ่มขบวนรถไฟขนส่งสินค้าจากเดิมวันละ 4 ขบวน (ไป-กลับ) เป็น 10 ขบวนไป-กลับ พ่วงขบวนละ 25 แคร่ และช่วงในปี 2566-2568 จะปรับเพิ่มขบวนรถขนส่งสินค้าเป็นวันละ 16 ขบวน (ไป-กลับ) และตั้งแต่ปี 2569 จะเพิ่มขบวนรถเป็น 24 ขบวน (ไป-กลับ) ซึ่งไม่รวมขบวนรถโดยสารระหว่างประเทศที่เดิมปกติมีให้บริการวันละ 4 ขบวน (ไป-กลับ) @ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ปักหมุดเริ่มสร้างปี 65 ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 2.24 แสนล้านบาท รฟท.ทำสัญญาสัมปทานให้บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ก่อสร้างและบริหาร ซึ่งมีความก้าวหน้าต่อเนื่อง โดยจะทยอยส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 160 กม. และออก NTP เริ่มงานช่วงเดือน มี.ค. 2565 ส่วนช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง มีกรอบเวลาส่งมอบพื้นที่ภายในปี 2566 เอกชนมีเวลาก่อสร้าง 5 ปี หรือได้นั่งไม่เกินปี 2571 ใกล้เคียงกับไฮสปีดไทย-จีน เรียกว่ามาทีหลัง...แต่ปังกว่า!!!

ความคิดเห็น

  1. บริษัท อินทนา วิศวกรรม จำกัด INTHANA ENGINEERING CO.,LTD. CENTER Business Coordination By Mr. SUPAKORN LEKYIM

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น