การรถไฟแห่งประเทศไทย (SRT) พัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม มูลค่า 67,966 ล้านบาท เพื่อเชื่อมต่อภาคอีสานตอนกลาง และเชื่อมโยงระเบียงการค้าแนวตะวันตก-ตะวันออกตอนบนเป็นครั้งแรก โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2021 และเปิดใช้งานในปี 2025
คุณวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตําแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2019 มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนมนั้น
โดยทางการรถไฟฯ ได้เร่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ออกแบบรายละเอียดของโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้สามารถเปิดประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ให้ได้ตามแผนภายในปี 2020 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในปี 2021 สามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ในเดือนมกราคม 2025
“โครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม ถือเป็นเส้นทางรถไฟที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นรถไฟสายใหม่ และสายแรกที่เปิดให้บริการสู่อีสานตอนกลาง ซึ่งยังไม่เคยมีรถไฟเข้าถึงมาก่อน โดยเมื่อก่อสร้างเสร็จจะสามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟทางคู่กับสายจังหวัดตาก และขอนแก่น ทำให้เป็นเส้นทางเชื่อมจากภาคตะวันตกสู่ภาคตะวันออกได้อย่างสมบูรณ์”
นอกจากนี้ ยังรองรับการพัฒนาระเบียงการค้าแนวตะวันตก-ตะวันออกตอนบน ซึ่งเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนาม อีกทั้งยังมีเส้นทางพาดผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว สองแห่ง ที่จังหวัดมุกดาหารและนครพนม และประเมินว่าเมื่อเปิดให้บริการจะมีผู้โดยสารใช้บริการช่วงแรก 3,835,260 คน และเพิ่มเป็น 8,311,050 คน ในปี 2056 ส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าจะเริ่มต้น 747,453 ตัน และเพิ่มเป็น 1,068,170 ตัน ในปี 2056
คุณวรวุฒิกล่าวว่า การดำเนินโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม มีกรอบดำเนินการทั้งหมดแปดปี (ปีงบประมาณ 2018 – 2025) มีระยะทางก่อสร้าง 355 กิโลเมตร โดยเป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ทั้งหมดสองทาง บางส่วนสร้างเป็นคันทางระดับดิน และบางส่วนเป็นทางรถไฟยกระดับ พาดผ่านทั้งหมด 70 ตำบล 19 อำเภอ หกจังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และนครพนม
ขณะเดียวกัน มีการก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่ 30 สถานี หนึ่งชุมทาง ลานบรรทุกตู้สินค้าสามแห่ง และย่านกองตู้สินค้าสามแห่ง มีโรงซ่อมบำรุงบริเวณสถานีภูเหล็ก (จังหวัดขอนแก่น) สำหรับซ่อมวาระเบาและซ่อมวาระปานกลาง ส่วนวาระหนักจะส่งไปซ่อมที่โรงรถจักรอุตรดิตถ์ พร้อมทั้งมีการสร้างถนนยกข้ามทางรถไฟ จำนวน 81 แห่ง มีถนนลอดใต้ทางรถไฟ จำนวน 245 แห่ง และก่อสร้างรั้วสองข้างทางตลอดแนวเส้นทางรถไฟ ความกว้างของราง ขนาดหนึ่งเมตรเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง
อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่
|
|
|
|
|
|
|
|
| หน้าแรก สิทธิผู้สูงอายุ | |
|
| |
| กดเล่น เพื่อฟังเสียง |
| |
| กดเล่น เพื่อฟังเสียง |
| |
| | |
|
ภาพรวมของสิทธิผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546
เรื่องที่ 1ภาพรวมของสิทธิผู้สูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546
ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายที่ให้การรับรองสิทธิของผู้สูงอายุเป็นการเฉพาะซึ่งมีชื่อว่าพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 สาระของกฎหมายฉบับนี้ได้กำหนดความหมายของผู้สูงอายุว่า หมายถึง บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 ได้รับรองให้ผู้สูงอายุได้รับประโยชน์ที่กฎหมายรับรองและคุ้มครองให้แก่บุคคลที่มีอายุเกิน 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไปและมีสัญชาติไทย ซึ่งในกฎหมายใช้คำว่า สิทธิผู้สูงอายุ ให้มีสิทธิได้รับการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนในด้านต่างๆ ดังนี้
1. สิทธิได้รับการบริการทางการแพทย์ และการสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกและรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นพิเศษ 2. สิทธิได้รับบริการด้านการศึกษา การศาสนา และข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต 3. สิทธิได้รับบริการด้านการประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม 4. สิทธิในการพัฒนาตนเองและการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม การรวมกลุ่มในลักษณะเครือข่ายหรือชุมชน 5.สิทธิได้รับการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะหรือการบริการสาธารณะอื่น 6. สิทธิได้รับการช่วยเหลือด้านค่าโดยสารยานพาหนะตามความเหมาะสม | |
7. สิทธิได้รับการยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐ 8. สิทธิในการได้รับการช่วยเหลือผู้สูงอายุซึ่งได้รับอันตรายจากการถูกทารุณกรรมหรือถูกแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย หรือถูกทอดทิ้ง 9. สิทธิในการได้รับคำแนะนำ ปรึกษา ดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องในทางคดี หรือในทางการแก้ไขปัญหาครอบครัว 10. สิทธิได้รับบริการการจัดที่พักอาศัย อาหารและเครื่องนุ่งห่มให้ตามความจำเป็นอย่างทั่วถึง 11. สิทธิได้รับการสงเคราะห์เบี้ยยังชีพตามความจำเป็นอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม 12. สิทธิได้รับการสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี 13. สิทธิประการอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
3.สิทธิได้รับบริการด้านการประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม ปัจจุบันนานาประเทศรวมทั้งประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ข้อมูลด้านประชากรจากหลายแห่งรายงานสอดคล้องกันว่า (ผู้จัดการออนไลน์ 13 เมษายน 2551) สัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5 ในปี 2523 เป็นร้อยละ 9 ในปี 2543 ร้อยละ 10 ในปี 2551 และคาดว่าจะเพิ่มเป็นร้อยละ 15 ในปี 2563 ขณะที่สัดส่วนประชากรเด็กกลับลดลงเรื่อยๆ จากร้อยละ 40 เป็นร้อยละ 25 และคาดว่าจะลดลงไปเหลือ ร้อยละ22 และร้อยละ 20ในช่วงเวลาดังกล่าว ตามลำดับ
จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ในขณะที่จำนวนเด็กลดลง ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของบริบทของสังคมไทยที่จากเดิมผู้สูงอายุมีบุคคลในครอบครัวให้การดูแลช่วยเหลือ เลี้ยงดู ส่งเสียให้เงินทอง แต่ภาพดังกล่าวเริ่มลดลงเรื่อยๆ จนปัจจุบันและจะทวีขึ้นในอนาคตกล่าวคือทุกคนในครอบครัวรวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุต้องหันมาประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองเพิ่มขึ้น ดังนั้น การเตรียมตลาดรองรับผู้สูงอายุเข้าทำงานจึงเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการ นอกจากนั้นการเตรียมผู้ดูแลผู้สูงอายุก็เพิ่มด้วย ดังพบว่า รัฐได้มีการกำหนดมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาการดูแลผู้สูงอายุ (มฝร-04724006) ขึ้น ซึ่งแสดงถึงการให้ความสำคัญต่อการรองรับประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น
ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศหนึ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงตลาดแรงงานจากวัยผู้ใหญ่ซึ่งเดิมเป็นวัยทำงานสู่กลุ่มทำงานวัยใหม่คือวัยสูงอายุ ดังรายงานการวิจัยในรัฐแคนซัส เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2551 พบว่าตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 (พ.ศ. 2549) ประเทศสหรัฐอเมริกามีแรงงานผู้สูงอายุในกลุ่มที่มีอายุมากกว่า ๖๒ ปี เข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้นเรื่อยๆ และคาดว่าสิ้นทศวรรษ (decade) นี้ (ค.ศ. 2010) ประชากรผู้สูงอายุที่เข้าสู่ตลาดแรงงานจะเพิ่มขึ้นจาก 64 ล้าน เป็น 76 ล้าน คิดเป็นร้อยละ 40 ของตลาดแรงงานทั้งหมด ในทางตรงกันข้ามแรงงานที่มีอายุต่ำกว่า 55 ปี จะลดน้อยลงเรื่อยๆ จึงเป็นสิ่งท้าทายผู้ว่าจ้างที่ต้องจัดเตรียมลักษณะของงานพร้อมสวัสดิการที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ (Olsen, T 2008)
จากรายงานวิจัยดังกล่าวส่งผลให้ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ ทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยต้องมีการสำรวจและมีมาตรการรองรับที่เหมาะสมกับบริบทการเปลี่ยนแปลงของแต่ละประเทศ
|
จากรายงานการวิจัยของประเทศไทยที่ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตชนบท (สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2547) พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ร้อยละ 51.7 ไม่มีรายได้ประจำ ร้อยละ 47.1 มีรายได้ประจำ กล่าวคือ ส่วนใหญ่ร้อยละ 24.4 มีรายได้ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 10.9 เดือนละ 1,001-2,000 บาท
|
ร้อยละ 6.1 มีรายได้เดือนละ 2,001-3,000 บาท ร้อยละ 2.1 รายได้เดือนละ 3,001-4,000 บาท ร้อยละ 2.0 รายได้เดือนละ 4,001-5,000 บาท ร้อยละ 1.4 รายได้เดือนละ 5,001-7,000 บาท และร้อยละ 3.6 รายได้เดือนละ 7,001 ขึ้นไป นอกจากนั้นยังพบว่ามีผู้สูงอายุที่ช่วยครอบครัวทำงานโดยไม่มีรายได้ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 15.9 เป็นการเฝ้าบ้าน รองลงมาร้อยละ 7.0 และ 1.6 ทำงานบ้านและเลี้ยงหลาน นอกนั้นผู้สูงอายุร้อยละ 1.1 เท่า ๆ กัน ทำกับข้าวและทำงานอื่น ๆ
|
จากข้อมูลการทำงานและรายได้ของผู้สูงอายุดังกล่าว บ่งชี้ว่า ผู้สูงอายุประมาณครึ่งหนึ่งไม่มีรายได้ และที่มีรายได้ส่วนใหญ่เมื่อเปรียบเทียบกับค่าครองชีพในสังคมปัจจุบันแล้วนับว่าน้อยมาก จากการที่ผู้สูงอายุไม่มีรายได้เป็นของตนเอง หรือมีแล้วไม่เพียงพอนอกจากจะทำให้เป็นภาระของครอบครัว และสังคมแล้ว ที่สำคัญจะทำให้ความมีคุณค่าของผู้สูงอายุลดลง ทั้งๆ ที่ผู้สูงอายุเป็นผู้มีคุณค่าและมีประสบการณ์มามาก ดังนั้นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุได้มีประกอบอาชีพที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งจำเป็น
|
|
ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการกำหนดสิทธิของผู้สูงอายุที่จะได้รับบริการด้านการประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสม ตามประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริมและสนับสนุนผู้สูงอายุในการประกอบอาชีพและฝึกอาชีพที่เหมาะสม เมื่อ 16 กันยายน 2547 โดยกำหนดไว้ 4 ประการ แต่ละประการมีรายละเอียด ดังนี้
|
1) การขอรับคำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานและบริการจัดหางานที่ตรงตามความต้องการของผู้สูงอายุจากสำนักงานจัดหางานทุกแห่ง 2) การขอรับบริการอบรมทักษะอาชีพและฝึกอาชีพตามอัธยาศัย 3) การไปใช้บริการจากศูนย์กลางข้อมูลทางการอาชีพ และตำแหน่งงานสำหรับผู้สูงอายุ ณ สำนักงานจัดหางานทุกแห่ง 4) การขอรับบริการจัดหาอาชีพที่เหมาะสมตามควรแก่อัตภาพ
ตามประกาศทั้ง 4 ประการดังกล่าว สำนักงานจัดหางาน กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ในแต่ละจังหวัดได้ดำเนินการ มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 โดยที่การไปขอรับคำปรึกษา แนะนำ หรือขอรับบริการ ณ สำนักงานจัดหางานดังกล่าว ผู้สูงอายุสามารถไปพบด้วยตนเองเพื่อขอรับคำแนะนำตามอัธยาศัย หรือจัดรวมกลุ่มกันเพื่อขอรับการอบรมอาชีพตามที่กลุ่มต้องการ ซึ่งทางสำนักงานจัดหาจะรับดำเนินการให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
| |
แต่จะต้องประสานล่วงหน้าและขึ้นอยู่กับงบประมาณที่ทางจังหวัดได้รับมาในแต่ละปี ดังตัวอย่างสำนักงานจัดหางาน จ นนทบุรี ในปี พ.ศ. 2551 สำนักงานได้จัดอบรมประกอบอาชีพ ระยะสั้นให้กลุ่มผู้สูงอายุ 2 รุ่น รุ่นละ 2 วัน ปรากฏมีผู้สนใจในเขตนนทบุรีให้ความสนใจมาก สามารถสอบถามข้อมูลได้เพิ่มเติมที่ http://www.doe.go.th/nonthaburi/
|
นอกจากนั้นที่สำนักงานจัดหางานจเชียงใหม่ ในต้นปี พ.ศ. 2551 ก็ได้จัดโครงการส่งเสริมการมีงานทำให้แก่ผู้สูงอายุโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ และได้รับการพัฒนาทักษะด้านอาชีพ สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพและมีงานทำ รวมทั้งเป็นการเตรียมความพร้อม สร้างรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ และเป็นการลดภาระในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุของครอบครัว สามารถติดตามข้อมูลและสอบถามรายละเอียดได้จาก
|
http://61.7.145.201/vgguide/freejob/project3.asp จากตัวอย่างดังกล่าว เป็นเพียงตัวอย่างกิจกรรมที่ทางสำนักจัดหางานจังหวัดได้จัดเท่านั้น ผู้สูงอายุทุกท่านหรือครอบครัวสามารถไปติดต่อขอรับบริการด้านการประกอบอาชีพหรือฝึกอาชีพที่เหมาะสมกับท่านได้ที่สำนักงานจัดหางาน ทุกจังหวัด โดยสามารถติดต่อทางโทรศัพท์เบื้องต้น หรือติดตามทางเว็บไซต์ได้ ทั้งนี้ เพื่อเสริมคุณค่าแห่งตนแก่ผู้สูงอายุ และเพิ่มพูนคุณค่าของผู้สูงอายุแก่สังคมไทย
แหล่งอ้างอิง สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (2547) ปัจจัยที่มีผลต่อความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตชนบท: บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
Olsen, T (2008), “Ageing work force offers challenges for employers” retrieved on June 7, 2008 from <http://www.bizjournals.com/denver/stories/2008/05/19/focus3.html>. *5. สิทธิได้รับการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในอาคาร สถานที่ ยานพาหนะหรือการบริการสาธารณะอื่น ผู้สูงอายุจะได้รับการอำนวยความสะดวกจากรัฐในลักษณะของการกำหนดลักษณะอาคารสถานที่ ยานพาหนะ หรือบริการสาธารณะที่ต้องมีอุปกรณ์ที่อำนวยความสะดวกโดยตรงแก่ผู้สูงอายุ เช่น ราวบันได ลิฟต์ ทางเดินเท้า รวมถึงการจัดมุมสุขภาพในสวนสาธารณะ ซึ่งหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ด้านอาคาร สถานที่ ยานพาหนะหรือการบริการสาธารณะอื่น ได้แก่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ การเคหะแห่งชาติ และกระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา โดยมีรายละเอียดที่ผู้สูงอายุจะได้รับจากหน่วยงานต่างๆ ดังกล่าว มีดังนี้ 1. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์จังหวัด ได้แก่ 1) การจัดสถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ เพื่อให้บริการแก่ผู้สูงอายุไว้เป็นสัดส่วนในสำนักงาน 2) การให้บริการแก่ผู้สูงอายุเป็นลำดับต้นหรือเป็นกรณีพิเศษ โดยเน้นบริการแบบเบ็ดเสร็จ 3) การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น รถเข็นนั่ง ไม้เท้า ราว อุปกรณ์ในห้องน้ำ 4) การจัดทำแผนผังช่องทางการให้บริการที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ 5) การเป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์กับทุกภาคส่วน ในจังหวัดให้ตระหนักถึงความสำคัญเกี่ยวกับการอำนวยความสะดวก และความปลอดภัยในการให้บริการแก่ผู้สูงอายุ 6) การจัดทำโครงการหรือกิจกรรมเชิงรุกเพื่ออำนวยความสะดวกและปลอดภัยในการ ให้บริการแก่ผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่ เช่น การออกหน่วยเคลื่อนที่
|
สำหรับผู้สูงอายุที่อยู่ในระดับหมู่บ้าน จะได้รับบริการจากอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในการอำนวยความสะดวก โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ยากจนและประสบปัญหาในการเดินทางไปขอรับบริการ โดยอาสาสมัครจะทำหน้าที่รับเรื่อง สอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น และประสานงานกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด และหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งประสานการจัดหาพาหนะเดินทางนำผู้สูงอายุไปรับบริการหรือร่วมกิจกรรมต่างๆ
|
2. การเคหะแห่งชาติ คือ การจัดสถานที่และให้มีอุปกรณ์สำหรับบริการผู้สูงอายุที่อยู่อาศัยในพื้นที่ของชุมชนการเคหะแห่งชาติ
3. กระทรวงการท่องเที่ยวและการกีฬา ได้ออกประกาศให้หน่วยงานที่เกี่ยงข้องทั้งภาครัฐและเอกชนส่งเสริมการจัดบริการเพื่ออำนวยความสะดวกและให้สิทธิสำหรับผู้สูงอายุทุกคนในสถานที่ท่องเที่ยว หรือสนามกีฬา หรือสถานออกกำลังกายอื่นๆ ซึ่งรวมถึงการอำนวยความปลอดภัยและลดค่าเข้าชม หรือการเข้าร่วมกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุในสถานที่ดังกล่าวด้วย(ประกาศกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริม และการสนับสนุนผู้สูงอายุในการจัดบริการด้านกรท่องเที่ยว กีฬา และนันทนาการ เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2547)
ในการนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการดำเนินการตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ได้กำหนดแนวทางในการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในการบริการสาธารณะอื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆในสังกัด ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริม และสนับสนุนการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยโดยตรงแก่ผู้สูงอายุในการบริการสาธารณะอื่น วันที่ 23 ธันวาคม 2547
สิทธิผู้สูงอายุพึงได้รับการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยในด้านการบริการสาธารณะที่จำเป็น ซึ่งต้องมุ่งเน้นด้านความปลอดภัย (Safety) มากที่สุด โดยในที่นี้ขอยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน ในเรื่องของห้องน้ำ ห้องส้วมซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้สูงอายุและทุกคน ดังนั้นในการออกแบบต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ดังผลการศึกษาของ ไตรรัตน์ จารุทัศน์ (2549) พบว่ามาตรฐานและแนวทางในการออกแบบห้องน้ำ-ห้องส้วมสาธารณะที่สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุรวมถึงทุกกลุ่มจะต้องมุ่งเน้นด้านความปลอดภัย มากที่สุด โดยมีส่วนประกอบต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. ควรมีแสงสว่างที่เพียงพอโดยมีแสงสว่างอย่างต่ำ 150 Lux
2. ห้องน้ำถือว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งของผู้สูงอายุ จึงควรมีลักษณะ ดังนี้
- ใช้วัสดุปูพื้นที่ไม่ลื่น พื้นระหว่างห้องน้ำต้องมีระดับเสมอกัน ถ้าเป็นพื้นต่างระดับต้องมีลักษณะเป็นทางลาด และไม่มีธรณีประตู หรืออาจใช้พื้นกระเบื้องเคลือบชนิดกันลื่น พื้นห้องน้ำต้องมีความลาดเอียงเพียงพอไปยังช่องระบายน้ำทิ้ง เพื่อที่จะไม่ให้มีน้ำขังบนพื้น เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
- ควรมีราวจับยึดกันหกล้มและช่วยในการพยุงตัว ติดบริเวณด้านชิดผนังเป็นราวจับในแนวนอนและแนวดิ่ง ราวจับในแนวนอนมีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 70 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 90 เซนติเมตร โดยราวจับที่ติดตั้งทำด้วยวัสดุผิวเรียบ มีความมั่นคงแข็งแรง ไม่เป็นอันตรายในการจับไม่ลื่น โดยมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 30-45 มิลลิเมตร ประตูของห้องที่ตั้งโถส้วมเป็นแบบบานเปิดออกสู่ภายนอก โดยต้องเปิดค้างได้ไม่น้อยกว่า 90 องศาหรือเป็นแบบบานเลื่อน
- ที่อาบน้ำควรใช้แบบฝักบัว จะปลอดภัยกว่าแบบอ่างอาบน้ำ หรือจะจัดไว้ทั้ง 2 แบบก็ได้โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ ที่อาบน้ำแบบฝักบัวมีขนาดความกว้างสุทธิไม่น้อยกว่า 110 เซนติเมตร และความยาวสุทธิไม่น้อยกว่า 120 เซนติเมตร มีที่นั่งสำหรับอาบน้ำที่มีความสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 50 เซนติเมตร ฝักบัวควรเป็นแบบที่ปรับระดับและถอดได้ และติดตั้งไว้ที่ความสูงจากพื้นไม่เกิน 160 เซนติเมตร สิ่งของเครื่องใช้สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 120 เซนติเมตร
- มีอ่างล้างมือโดยมีลักษณะดังต่อไปนี้ คือใต้อ่างล้างมือไปจนถึงขอบอ่างเป็นที่ว่าง และขอบอ่างต้องอยู่ในตำแหน่งที่ผู้สูงอายุเข้าประชิดได้โดยไม่มีสิ่งกีดขวาง มีความสูงจากพื้นถึงขอบบนของอ่างไม่น้อยกว่า 75 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 80 เซนติเมตร และมีราวจับในแนวนอน ทั้งสองข้างของอ่าง ก๊อกน้ำเป็นชนิดก้านโยกหรือก้านกด หรือระบบอัตโนมัติ
- มีโถส้วมชนิดนั่งราบ สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 50 เซนติเมตร มีพนักพิงหลังและที่ปล่อยน้ำเป็นชนิดคันโยก ปุ่มกดขนาดใหญ่หรือชนิดอื่นที่ผู้สูงอายุสามารถใช้ได้อย่างสะดวก มีด้านข้างด้านหนึ่งของโถส้วมอยู่ชิดผนังโดยมีระยะห่างวัดจากกึ่งกลางโถส้วมถึงผนังไม่น้อยกว่า 45 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 50 เซนติเมตร
- ติดตั้งระบบสัญญาณแสงและสัญญาณเสียง ให้ผู้ที่อยู่ภายนอกแจ้งภัยแก่ผู้ทุพพลภาพ คนพิการและผู้สูงอายุ ระบบสัญญาณแสงและสัญญาณเสียง ให้ผู้สูงอายุแจ้งเหตุหรือเรียกหาผู้ช่วยในกรณีที่เกิดเหตุ ฉุกเฉินไว้ในห้องน้ำ โดยมีปุ่มกดหรือปุ่มสัมผัสให้สัญญาณทำงาน ซึ่งติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สามารถใช้งานได้สะดวก
|
ในการสร้างห้องน้ำในบ้านเรือนอาศัยจึงควรสร้างให้เหมาะสม และห้องน้ำ และห้องส้วมสาธารณะ ที่กล่าวมาก็สามารถปรับให้เหมาะสมตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานในแต่ละอาคารได้
นอกจากนั้นกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัยยังได้ทำการพัฒนาส้วมสาธารณะในประเทศไทยให้ได้มาตรฐาน โดยได้กำหนดส้วมสาธารณะต้นแบบสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการ
|
เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่โรคติดต่อและเพื่อความพึงพอใจของประชาชนไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ส้วมสาธารณะ โดยการพัฒนาสุขาสาธารณะในประเทศ โดยเน้น 3 เรื่อง คือ สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ให้ได้มาตรฐาน หรือ Healthy Accessibility Safety (HAS)
ผศ.ดร.ไตรรัตน์ จารุทัศน์ และคณะนักวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้วิจัยออกแบบห้องน้ำ-ห้องส้วมสาธารณะ ที่มีความสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ และเหมาะสมกับผู้สูงอายุและกลุ่มผู้ทุพพลภาพและคนพิการ โดยได้มีพิธีการส่งมอบแบบส้วมสาธารณะ เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2550 กระทรวงสาธารณสุขได้รับมอบ และส่งแบบให้วัด สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ มูลนิธิ สถานีบริการน้ำมัน รวมทั้งห้างสรรพสินค้าต่างๆ จำนวน 52 แห่ง ได้นำไปขยายผล ปรับปรุงและจัดสร้างส้วมตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นต่อไป
อ้างอิง ไตรรัตน์ จารุทัศน์ (2549)
| |
| |
|
|
|
|
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น