การรถไฟแห่งประเทศไทย (SRT) พัฒนาโครงการรถไฟทางคู่ เส้นทางบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม มูลค่า 67,966 ล้านบาท เพื่อเชื่อมต่อภาคอีสานตอนกลาง และเชื่อมโยงระเบียงการค้าแนวตะวันตก-ตะวันออกตอนบนเป็นครั้งแรก โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2021 และเปิดใช้งานในปี 2025
คุณวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตําแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2019 มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟ สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนมนั้น
โดยทางการรถไฟฯ ได้เร่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี ออกแบบรายละเอียดของโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้สามารถเปิดประกวดราคาจ้างก่อสร้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ให้ได้ตามแผนภายในปี 2020 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในปี 2021 สามารถเปิดให้บริการประชาชนได้ในเดือนมกราคม 2025
“โครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม ถือเป็นเส้นทางรถไฟที่มีความสำคัญมาก เพราะเป็นรถไฟสายใหม่ และสายแรกที่เปิดให้บริการสู่อีสานตอนกลาง ซึ่งยังไม่เคยมีรถไฟเข้าถึงมาก่อน โดยเมื่อก่อสร้างเสร็จจะสามารถเชื่อมต่อการเดินทางกับรถไฟทางคู่กับสายจังหวัดตาก และขอนแก่น ทำให้เป็นเส้นทางเชื่อมจากภาคตะวันตกสู่ภาคตะวันออกได้อย่างสมบูรณ์”
นอกจากนี้ ยังรองรับการพัฒนาระเบียงการค้าแนวตะวันตก-ตะวันออกตอนบน ซึ่งเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศเมียนมา ลาว และเวียดนาม อีกทั้งยังมีเส้นทางพาดผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว สองแห่ง ที่จังหวัดมุกดาหารและนครพนม และประเมินว่าเมื่อเปิดให้บริการจะมีผู้โดยสารใช้บริการช่วงแรก 3,835,260 คน และเพิ่มเป็น 8,311,050 คน ในปี 2056 ส่วนปริมาณการขนส่งสินค้าจะเริ่มต้น 747,453 ตัน และเพิ่มเป็น 1,068,170 ตัน ในปี 2056
คุณวรวุฒิกล่าวว่า การดำเนินโครงการรถไฟทางคู่สายบ้านไผ่ – มหาสารคาม – ร้อยเอ็ด – มุกดาหาร – นครพนม มีกรอบดำเนินการทั้งหมดแปดปี (ปีงบประมาณ 2018 – 2025) มีระยะทางก่อสร้าง 355 กิโลเมตร โดยเป็นการก่อสร้างทางรถไฟใหม่ทั้งหมดสองทาง บางส่วนสร้างเป็นคันทางระดับดิน และบางส่วนเป็นทางรถไฟยกระดับ พาดผ่านทั้งหมด 70 ตำบล 19 อำเภอ หกจังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร มุกดาหาร และนครพนม
ขณะเดียวกัน มีการก่อสร้างสถานีรถไฟใหม่ 30 สถานี หนึ่งชุมทาง ลานบรรทุกตู้สินค้าสามแห่ง และย่านกองตู้สินค้าสามแห่ง มีโรงซ่อมบำรุงบริเวณสถานีภูเหล็ก (จังหวัดขอนแก่น) สำหรับซ่อมวาระเบาและซ่อมวาระปานกลาง ส่วนวาระหนักจะส่งไปซ่อมที่โรงรถจักรอุตรดิตถ์ พร้อมทั้งมีการสร้างถนนยกข้ามทางรถไฟ จำนวน 81 แห่ง มีถนนลอดใต้ทางรถไฟ จำนวน 245 แห่ง และก่อสร้างรั้วสองข้างทางตลอดแนวเส้นทางรถไฟ ความกว้างของราง ขนาดหนึ่งเมตรเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินทาง
อัพเดตข่าวสารและบทความที่น่าสนใจในอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ก่อนใคร ผ่าน Line Official Account @Logistics Mananger เพียงเพิ่มเราเป็นเพื่อน @Logistics Manager หรือคลิกที่นี่
หลักการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น
หลักการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น การดูแลผู้สูงอายุให้ดีได้นั้น ผู้ดูแลควรรู้ว่าผู้สูงอายุต้องการความช่วยเหลือดูแลในระดับใด การประเมินความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันโดยการใช้ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL Index) เป็นการประเมินเพื่อแยกประเภทผู้สูงอายุให้เหมาะสมกับการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ วิธีนี้จะสามารถแบ่งผู้สูงอายุออกเป็นกลุ่มตามความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันว่าผู้สูงอายุต้องการการดูแลในระดับใดคือ 1. ผู้สูงอายุที่พึ่งตนเองได้ 2. ผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือบ้างเล็กน้อย 3. ผู้สูงอายุที่พึ่งตนเองไม่ได้เลย เมื่อรู้แล้วว่าผู้สูงอายุอยู่ในกลุ่มใดก็สามารถปฏิบัติดูแลต่อผู้สูงอายุได้อย่างถูกต้องและตรงตามความต้องการซึ่งการดูแลผู้สูงอายุหมายถึงการดูแลให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขทั้งทางร่างกาย จิตใจและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
โดยทั่วไปการดูแลผู้สูงอายุหมายถึงการดูแลผู้สูงอายุในด้านต่างๆ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพกายและใจที่เข้มแข็ง มีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีความสุขในชีวิตประจำวันซึ่งแบ่งการดูแลออกเป็นเรื่องต่างๆ ดังนี้
1. การกินอาหารของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุยังต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนเหมือนคนปกติเพียงแต่ต้องการในปริมาณที่น้อยลงเท่านั้น ดังนั้นอาหารของผู้สูงอายุควรกินให้ครบทั้ง 5 หมู่โดยเน้นโปรตีนจากปลาและธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย ควรกินอาหารประเภทต้ม นึ่ง ย่าง อบ แทนการผัด ทอด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัดโดยเช่นเค็มจัด มันจัด หวานจัด อาหารควรมีความหลากหลายคือในแต่ละหมู่ให้มีการสลับเปลี่ยนกันบ้างในหมู่เดียวกันเช่น ในอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตมีทั้ง ข้าวเจ้า ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน บะหมี่ วุ้นเส้น ฯลฯ อาหารของผู้สูงอายุควรกินสลับกันหมุนเวียนกันไปในกลุ่มเดียวกันแต่ไม่ควรสลับข้ามกลุ่มอาหารเพราะพลังงานและสารอาหารที่ได้ไม่เท่ากัน ทั้งนี้สภาพร่างกายของผู้สูงอายุแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันบางคนอ้วน บางคนผอมจึงควรปรับการกินอาหารให้เหมาะสมเช่น ผู้สูงอายุที่น้ำหนักตัวเยอะควรลดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมันให้น้อยลง
2. การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ การออกกำลังกายที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุจะมีประโยชน์ช่วยชะลอการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ทำให้ร่างกายมีสมรรถภาพที่ดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรง การทรงตัวดี ปอด หัวใจ หลอดเลือดทำงานได้ดีขึ้น สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการออกกำลังกายของผู้สูงอายุคือ วิธีการออกกำลังกาย ความถี่ ระยะเวลาและความหนักของการออกกำลังกายทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้สูงอายุเป็นสำคัญ การออกกำลังกายของผู้สูงอายุที่นิยมทำกันเช่น การเดิน การรำมวยจีน เล่นโยคะ การบริหารแบบหัดพละ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เป็นต้น กายบริหารเหล่านี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการเคลื่อนไหวร่างกายไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ เอ็น ข้อต่อ ทั้งนี้ควรเคลื่อนไหวให้มากถึงขีดจำกัดของร่างกายแต่ละส่วนโดยพยายามให้ครบทุกส่วน สำหรับจำนวนครั้งของการทำซ้ำก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความหนักเบาของกิจกรรมที่ทำโดยคำนึงถึงสภาพร่างกายเป็นสำคัญ ก่อนและหลังการออกกำลังกายควรมีการอบอุ่นร่างกาย(ก่อนออกกำลังกาย)และการผ่อนคลายร่างกาย(หลังออกกำลังกาย)เพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย หลักสำคัญของการออกกำลังกายของผู้สูงอายุเพื่อสุขภาพที่ดีคือต้องเหมาะสมกับผู้สูงอายุ ต้องทำสม่ำเสมอและทราบขีดจำกัดของตัวเองว่ามีแค่ไหนโดยใช้ร่างกายของผู้สูงอายุเองเป็นตัววัด
3. การดูแลสุขภาพอนามัย สำหรับผู้สูงอายุที่ร่างกายยังแข็งแรงดีอยู่ก็ควรดูแลเพื่อยืดเวลาหรือชะลอการเสื่อมของร่างกายออกไปให้นานที่สุดโดยการดูแลในเรื่องความสะอาดด้านต่างๆ เช่น อาหาร เสื้อผ้า ที่นอนผ้าห่ม ห้องน้ำ รวมถึงความสะอาดในเรื่องการขับถ่ายเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้สูงอายุที่มีภูมิคุ้มกันลดน้อยลงได้รับเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกายและอาจเกิดการติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนี้ให้หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุควรได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ ความถี่ในการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุขึ้นอยู่กับความเห็นของแพทย์ หากผู้สูงอายุมีอาการเจ็บป่วยแม้เพียงเล็กน้อยเช่น มีไข้หรือท้องเสียถ้าอาการเจ็บป่วยยังไม่ทุเลาภายใน 1-2 วัน ควรรีบปรึกษาแพทย์
4. การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ โดยการจัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อลดการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุกับผู้สูงอายุเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนเพราะการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมภายในบ้านจะทำให้เกิดผลกระทบกับผู้สูงอายุได้โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม การจัดบ้านให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับผู้สูงอายุจะทำให้ผู้สูงอายุมีความปลอดภัย สะดวกในการดำเนินชีวิตและการทำกิจวัตรประจำวันทำให้ผู้สูงอายุอยู่อย่างมีความสุข
5. การดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ ส่วนมากผู้สูงอายุจะไม่ค่อยสดชื่น หดหู่ มีอาการซึมเศร้าเพราะคิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่มีใครนับถือ กลัวถูกทอดทิ้ง ดังนั้นการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุลูกหลานและคนในครอบครัวควรให้ความรักและเคารพเหมือนที่เคยปฏิบัติกันมา ชวนผู้สูงอายุพูดคุยอย่างสม่ำเสมอ ควรให้ผู้สูงอายุได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจของครอบครัวบ้าง หากเป็นไปได้ควรให้ผู้สูงอายุได้เข้าสังคมบ้างอาจเป็นสังคมในชุมชนเพื่อที่จะได้พบปะพูดคุยกับคนในวัยเดียวกันเป็นการผ่อนคลายความเหงาของผู้สูงอายุให้ลดลงไปได้บ้าง
การดูแลผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความเข้าใจในธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดความเอื้ออาทรในการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ที่ก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุจะมีปัญหาสุขภาพในเรื่องความเสื่อมของอวัยวะและระบบต่างๆ ในร่างกายอยู่แล้วและอาจมีปัญหาทางจิตใจตามมาด้วยซึ่งการดูแลสุขภาพจิตผู้สูงอายุก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน ผู้ดูแลผู้สูงอายุ(Caregiver) ซึ่งส่วนมากมักเป็นคนในครอบครัวจะเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้นผู้ดูแลผู้สูงอายุต้องมีความเข้าใจธรรมชาติการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุเพื่อจะได้เข้าใจปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุอันจะนำไปสู่แนวทางการดูแลผู้สูงอายุและวิธีปฏิบัติในการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสมและตรงตามความต้องการของผู้สูงอายุ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น